ที่มาของคำว่า โคม ในสมัยดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน
โคม เป็นเครื่องกำบังไฟไม่ให้ดับเมื่อถูกลมพัด ภายในจุดเทียนหรือผางประทีป (ผางประทีปเป็นภาชนะดินเผาคล้ายถ้วยเล็ก ๆ ใช้มันสัตว์ เช่น ขี้ผึ้งหรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงมีไส้่ทำด้วยฟั่น ช่วยให้ไฟติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน) ในอดีต เกิดจากการที่ชาวนาไปทำนาในตอนกลางคืน ได้จุดเทียนเพื่อให้แสงสว่างในการทำงาน บางครั้งลมพัดทำให้เทียนดับ ชาวนาจึงใช้ตระกร้าที่ใส่ของมาครอบเทียนแล้วนำกระดาษมาหุ้มรอบ ๆ ไม่ต้องลำบากในการจุดเทียนอีก ต่อมาชาวบ้านได้ประยุกต์มาใช้ในการประดิษฐ์โคมไฟเพื่อใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าในช่วงประเพณียี่เป็ง(ประเพณีลอยกระทง)ของชาวล้านนา
โคมถือว่าเป็นของสูงที่แสดงถึงความสว่างรุ่งโรจน์ตามตำนานในคำภีร์พระธรรมเทศนา อานิสงค์ผางผะติป (ประทีป) ผู้ใดนำโคมไปบูชาในวันเดือนยี่เป็งตามประเพณีดั้งเดิมจะได้รับผลบุญต่าง ๆ ที่ทำให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุข
การทำโคมไฟ ใช้ไม้ไผ่ปล้องยาวเป็นวัสดุขึ้นโครงและหุ้มด้วยกระดาษสา,กระดาษแก้วหรือผ้า มีการประดับตกแต่งโคมด้วยการตัดลวดลายต่างๆ จากกระดาษ ตระกั่วอย่างสวยงาม
โคมล้านนา แบ่งได้ 8 ชนิดคือ
1. โคมแปดเหลี่ยม
2. โคมไห
3. โคมดาว
4. โคมไต
5. โคมหูกระต่าย
6. โคมดอกบัว
7.โคมผัด
8. โคมรูปสัตว์
ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบให้แตกต่างออกไปอีกเป็นจำนวนมากและยังมีการทำโคมเพื่อประกอบพีธีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประยุกต์ใช้ในการตกแต่งอาคารสถานที่ เพื่อให้เกิดความสวยงามได้บรรยากาศแบบล้านนา (7 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย) การเรียนรู้การทำโคมไฟแบบล้านนายังมีผู้ให้ความสำคัญอนุรักษ์และสืบสานอย่างต่อเนื่อง ท้ังในระดับครอบครัว และหมู่บ้าน
วัสดุและรูปแบบที่เหมาะสมของโคมลอย
1. โคมลอยที่ปล่อยต้องปริมาตรไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร และทำจากวัสดุธรรมชาติ
2. โคมลอยส่วนที่เป็นตัวโคม ต้องทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ส่วนตัวโครงของโคมทำจากไม้ไผ่ และไม่ติดอุปกรณ์หรือวัสดุตกแต่งใดๆที่มีคุณสมบัติติดไฟหรือเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้ง่ายไว้กับโคมลอย
3. ส่วนที่เป็นเชื้อเพลิงทำจากกระดาษชุบเทียน ขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน ซึ่งใช้สำหรับจุดไฟให้อากาศร้อนในตัวโคม เพื่อให้โคมยกตัวลอยสู่อากาศเองได้
4. การยึดติดเชื้อเพลิงตัวโคมให้ยึดติดด้วยเชือกทนไฟ เชือก หรือลวดอ่อนเบอร์ 24 เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร จำนวน 2 เส้น แต่ละเส้นความยาวต้องไม่เกิน 30 เซ็นติเมตร
5. โคมลอยขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องไม่เกิน 90 เซ็นติเมตร ความสูงต้องไม่เกิน 140 เซนติเมตร น้ำหนักเชื้อเพลิงไม่เกิน 55 กรัม ระยะเวลาเผ่าไหม้ของเชื้อเพลิงไม่เกิน 8 นาที สำหรับโคมลอยที่มีขนาดลดลงให้เป็นไปตามส่วนของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความสูงน้ำหนักเชื้ิอเพลิง
6. ช่วงเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัยต่ออากาศยานในการปล่อยโคมลอย เห็นควรเป็นช่วง 21.30 นาทีการปล่อยโคมลอยอย่างปลอดภัย
- ควรปล่อยโคมลอยในสถานที่โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ
- ควรปล่อยโคมลอยในช่วงในลมสงบ
- ก่อนปล่อยโคมลอยต้องสังเกตให้แน่นอนว่าไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือหากมีต้องแน่ใจว่า เมื่อปล่อยโคมลอยแล้วจะไม่ลอยไปแตะถูกสายไฟฟ้าได้
- ในการปล่อยโคมลอยแต่ละครั้งควรรอให้โคมลอยมีแรงดึงตัวขึ้นให้มากจนแน่ว่า เมื่อปล่อยแล้วจะลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยเร็ว
- อย่าใช้เชื้อเพลิงให้มากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการใช้โคมลอยที่มีโครงเป็นโลหะ หากโคมลอยไปแตะหรือเกี่ยวพันกับสายไฟ หรือเสาไฟฟ้าอย่าทำการแก้ไขเอง ต้องรีบแจ้างให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใกล้บ้านทราบโดยด่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น